ระบบประสาทถูกทำลาย

ระบบประสาทถูกทำลาย ภาวะปลายประสาทถูกทำลาย

ระบบประสาทถูกทำลาย คือ ภาวะการทำงานของระบบประสาทขาดประสิทะิภาพ จากสาเหตุต่างๆ เช่น อุบัติเหตุ การติดเชื้อโรค การผิดปรติของร่างกายโดยตรง ซึ่งส่งผลให้ระบบการควบคุมร่างกายมีปัญหา ทั้งนี้อาการต่างๆของโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย เป็น โรคระบบประสาทและสมอง โรคนี้มีอาการอย่างไร สาเหตุการเกิดโรค การรักษาทำได้ไหม รักษาหายไหม บทความนี้จะนำความรู้มาอธิบายให้ทราบกัน

โรคระบบประสาทถูกทำลาย คือ ภาวะระบบประสาทถูกทำลาย จากสาเหตุต่างๆ มักเกิดกับผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุ แรงกระแทก แรงอัด การได้รับปาดเจ็บจากการต่อสู่ ทำให้เส้นประสาทได้รับความเสียหาย หากโดยเส้นประสาทที่สำคัญบริเวณกระดูกสันหลัง ก้านสมอง สมอง มักจะมีอาการรุนแรง เมื่อระบบประสาทถูกทำลาย  มักจะทำให้เกิดโรคอัมพฤษ์และอัมพาต

สาเหตุของโรคระบบประสาทถูกทำลาย

ภาวะเส้นประสาทส่วนปลายถูกทำบายนั้น เป็นเส้นประสาทที่อยู่นอกสมองและไขสันหลัง โอกาสการเกิดโรคนี้พบได้ ร้อยละ 2.4 ของประชากรทั่วไป ซึ่งเส้นประสาทส่วนปลาย จะมีกลุ่มเส้นประสาท 3 กลุ่ม คือ เส้นประสาทกล้ามเนื้อ เส้นประสาทรับความรู้สึก และ เส้นประสาทอัตโนมัติ

ความผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลาย สามารถเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ซึ่งพบได้บ่อยที่สุด คือ ความผิดปกติทางระบบประสาท เรียกว่า Charcot-Marie-Tooth แต่จริงๆแล้วสาเหตุการเกิดโรคมีหลายสาเหตุ สามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้ 3 กลุ่มใหญ่ คือ

  • ความผิดปกติของเส้นประสาทจากการเกิดโรค ซึ่งโรคในกลุ่มนี้กระทบกับร่างกายโดยรวม ทำให้เกิดความผิดปกติของเส้นประสาท พบมากที่สุด คือ โรคเบาหวาน ความผิดปกติของไต การได้รับสารพิษ การรับยาบางชนิด ความผิดปกติจากโรคตับ เกิดโรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ ภาวะการขาดวิตามิน การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป โรคมะเร็งหรือเนื้องอก
  • ความผิดปกติของเส้นประสาทจากการเกิดอุบัติเหตุ การเกิดอุบัตติเหตุจากแรงปะทะ แรงบด แรงอัด หรือ แรงยืด อย่างรุนแรงทำให้เส้นประสาทขาดออกจากไขสันหลัง การทำลายเส้นประสาทอย่างรุนแรง ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทโดยตรง
  • ความผิดปกติของเส้นประสาทจากการติดเชื้อและความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน โรคจากการติดเชื้อโรคทำลายเส้นประสาทได้โดยทางตรงและทางอ้อม โดยโรคที่มีผลต่อระบบประสาท เช่น HIV งูสวัด Epstein-Barr virus โรคไลม์ โรคคอตีบ โรคเรื้อน

การรักษาโรคระบบประสาทถูกทำลาย

สำหรับการรักษาโรคระบบประสาทถูกทำลายนั้น รักษาตามอาการของโรค ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูการทำงานขิงร่างกาย โดยรายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาตามอาการที่พบ เช่น หากมีการตกเลือดจะต้องห้ามเลือดก่อน การรักษาการติดเชื้อต่างๆ การขับพิษออกจากร่างกาย
  • การผ่าตัดเพื่อทำวัตถุที่ฝังในร่างกายออก
  • การผ่าตัดเพื่อต่อเส้นประสาท
  • การทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูร่างกาย
  • การรักษาสภาพจิตใจ เพื่อ ฟื้นฟูสภาพจิตใจที่ไม่สามารถรักษาให้หายกลับมาเดินได้
  • รักษาด้วยการใช้อุปกรณ์เสริมช่วยช่วยเดิน เช่น ไม้เท้า วิลแชร์ เป็นต้น

การป้องกันการเกิดโรคระบบประสาทถูกทำลาย

ระบบประสาทถูกทำลาย ส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกาย และ กล้ามเนื้อ รวมถึงการเคลื่อนไหวร่างกาย การป้องกันที่ดีที่สุด คือ ลดปัจจัยเสี่ยงการติดเชื้อโรคและการเกิดอุบัติเหตุ สามารถสรุปแนวทางการป้องกันการเกิดโรคได้ ดังนี้

  • ควบคุมอาหาร รับประาทนอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ลดความอ้วน น้ำหนักตัวที่มาก ทำให้มีโอกาสการกระแทกสูงและมีความรุนแรงมากกว่าปรกติ
  • หมั่นออกกำลังกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ไม่ประมาทในการเดินทางและการใช้ชีวิตต่างๆ
  • ตรวจสุขภาพประจำปี

ยินดีให้คำแนะนำและปรึกษา สอบถามข้อมูลหรือสั่งซื้อสินค้า (24 ช.ม.)

โทร.081-926-1961 นันทภัค อุระนันท์ (หนิง)

Line id : @pshop01

โรคไขสันหลัง

โรคไขสันหลัง

โรคไขสันหลัง คือ การบาดเจ็บที่ส่งผลต่อการทำงานของกระดูกสันหลัง โรคข้อและกระดูก พบไม่บ่อย เกิดได้กับทุกคน เกิดจากหลายสาเหตุ ส่งผลต่อโรคอื่นๆได้ เช่น โรคอัมพฤกษ์ โรคอัมพาต การรักษาโรคไขสันหลัง และ การป้องกันการเกิดโรคไขสันหลัง

ไขสันหลัง

สำหรับไขสันหลังนั้น มีหน้าที่หลักในการเชื่อมต่อการทำงาน รับและส่งสัญญาณต่างๆระหว่างสมองกับเส้นประสาทส่วนปลายที่ควบคุมการการเคลื่อนไหวและการรับรู้ความรู้สึกของเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆในร่างกาย หน้าทีของไขสันหลัง สามารถสรุปได้ ดังนี้

  • รับและส่ง คำสั่งการ ( Motor information ) ในการทำงานของอวัยวะต่างๆ
  • รับและส่งประสาทสัมผัส รับความรู้สึกต่างๆ และ สั่งให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองฉับพลันต่อตัวกระตุ้น ( Stimulus ) เช่น อาการไอ การหลับตา การจาม การเกา เป็นต้น

โรคของไขสันหลัง หากเป็นโรคจากความผิดปรกติของไขสันหลังเองนั้นพบไม่บ่อย โดยมากจากเกิดจากการถูกกระทบกระเทือนโดยตรงต่อกระดูกสันหลัง เช่น อุบัติเหตุ การตกจากที่สูง การถูกยิง การถูกแทง หรือ การติดเชื้อในกระแสลือดที่แพร่กระจายจนลุกลามสู่ไขสันหลัง สำหรับการติดเชื้อสู่ไขสันหลัง เกิดจากโรคต่างๆ เช่น ไขสันหลังอักเสบติดเชื้อ  การอักเสบต่างๆที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ โรคเนื้องอกไขสันหลัง โรคมะเร็ง

สาเหตุของการเกิดโรคไขสันหลัง

สำหรับสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคไขสันหลัง สามารถสรุปสาเหตุได้ ดังนี้

  • การเกิดอุบัติเหตุ กระแทกต่อกระดูกสันหลัง ทำให้มีโอกาสเกิดดารกดทับไขสันหลังของกระดูกสันหลังได้
  • การติดเชื้อโรคที่ส่งผลให้เกิดไขสันหลังอักเสบ ซึ่งมักเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดรุนแรง เช่น โรคโปลิโอ โรคหัด โรคคางทูม เป็นต้น
  • การอักเสบของร่างกาย แต่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อโรค เช่น โรคแพ้ภูมิต้านทานตนเอง โรคเนื้องอกต่างๆ โรคเนื้องอกที่ไขสันหลัง เป็นต้น
  • การแพร่กระจายของมะเร็ง เข้าสู่กระแสเลือด และลามเข้าสู่ไขสันหลัง
  • เกิดจาดผลข้างเคียงจากการรับวัคซีนบางชนิด เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนโรคหัด เป็นต้น
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม

อาการของผู้ป่วยโรคไขสันหลัง

สำหรับผู้ป่วยโรคไขสันหลัง จะแสดงอาการสำคัญ ที่ระบบประสาท การควบคุมร่างกาย และ อาการที่หลังบริเวณกระดูกสันหลังโดยตรง สามารถสรุปอาการสำคัญ ได้ดังนี้

  • มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เช่น แขนขาอ่อน หรือ แขนทั้ง 2 ข้างอ่อนแรง หรือ ขาทั้ง 2 ข้างอ่อนแรง หรือจะมีอาการอ่อนแรงครึ่งซีก
  • มีอาการปวดหลังชนิดเรื้อรัง
  • มีอาการกระตุกที่กล้ามเนื้อ
  • ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้
  • อาจมีอาการกล้ามเนื้อแขนขาลีบ

การวินิจฉัยโรคไขสันหลัง

การวินิจฉัยเพื่อหาโรคไขสันหลัง นั้นแพทย์จะทำาการ ซักถามประวัติต่างๆ ประวัติการรักษาโรค ประวัติการเกิดอุบัติเหตุ ประวัติการรับวัคซีน และทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด เช่น เอกซเรย์ไขสันหลัง การตรวจน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง การเจาะน้ำไขสันหลัง ซึ่งการเจาะน้ำที่ไขสันหลังนั้น สามารถตรวจดู สารผิดปกติ สารภูมิต้านทานเฉพาะโรคต่างๆ ดูเซลล์ผิดปกติต่างๆ และอาจ ต้องตัดชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อที่ไขสันหลัง ไปตรวจทางพยาธิวิทยา ด้วย

การรักษาโรคไขสันหลัง

การรักษาโรคไขสันหลังนั้น มีแนวทางการรักษาโรค โดยการรักษาตามสาเหตุของการเกิดโรค การประคับประคองอาการของโรคตามอาการป่วย และการทำกายภาพบำบัด โดยสามารถสรุปรายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาตามสาเหตุของการเกิดโรค เช่น หากเกิดอุบัตติเหตุต้องรับการผ่าตัด หากเกิดจากเนื้องอกให้ทำการผ่าตัดร่วมกับการฉายรังสี และให้ยาปฏิชีวนะเมื่อเกิดจากการติดเชื้อโรค เป็นต้น
  • การรักษาด้วยการประคับประคองตามอาการของโรค เช่น การให้ยาแก้ปวด การใช้สายสวนปัสสาวะ การสวนอุจจาระ เป็นต้น
  • การทำกายภาพบำบัด ในกรณีกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น

การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคกระดูกสันหลัง

สำหรับการดูแลตนเองนั้นมีความสำคัญต่อการรักษาโรค โดนจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของ แพทย์ รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อลดการติดเชื้อโรค รักษาสุขภาพจิตให้มีคามเข้มแข็ และทำกายภาพบำบัดอย่างสม่ำเสมอ

การป้องกันการเกิดโรคไขสันหลัง

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคนี้นั้น ต้องดูแลตนเองไม่ให้มีดอกาสเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงต้องรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่เป็นสาเหตุของไขสันหลังอักเสบ เช่น โรคโปลิโอ โรคหัด เป็นต้น

ยินดีให้คำแนะนำและปรึกษา สอบถามข้อมูลหรือสั่งซื้อสินค้า (24 ช.ม.)

โทร.081-926-1961 นันทภัค อุระนันท์ (หนิง)

Line id : @pshop01

โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท

โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท (Herniated disc)

  • อาการของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท
  • สาเหตุของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท
  • การรักษาโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท

 

อาการของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท

อาการอาจแสดงออกได้ทั้งบริเวณหลังและขา คนทั่วไปมักเข้าใจว่ามีเพียงอาการปวดหลังอย่างเดียว ที่จริงแล้วอาการที่ขานั้นสำคัญและจำเพาะเจาะจงกับโรคนี้มากกว่า นั่นแสดงถึงว่าเกิดการรบกวนเส้นประสาทสันหลังที่วิ่งไปเลี้ยงที่ขาแล้ว หมอนรองกระดูกที่เคลื่อนออกมามักทำให้เกิดอาการแบบฉับพลันเพราะมีการอักเสบที่รุนแรง
 
อาการที่หลัง: ปวดหลังบริเวณเอวส่วนล่าง อาจมีอาการที่หลังเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง มักมีอาการในท่านั่ง หรือมีการนั่งงอตัวไปทางด้านหน้าซึ่งเป็นท่าที่หมอนรองกระดูกได้รับแรงกดทับมากที่สุด
อาการที่ขา: อาการแสดงที่ขามีได้ 3 แบบ คือ อาการปวด ชา หรือการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ
 
อาการปวดหรือชาขาที่เกิดจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมีลักษณะคือ มีอาการตามแนวที่เส้นประสาทวิ่งไป สามารถปวดได้ตั้งแต่บริเวณเอว ต้นขา น่อง ไปจนถึงบริเวณเท้าและนิ้วเท้าได้ การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อก็มีลักษณะคล้ายอาการปวดและชา คือจะมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อมัดที่เลี้ยงด้วยเส้นประสาทเส้นที่ถูกกดทับนั้น
 

สาเหตุของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท

  • การยกของหนักด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้องบ่อยๆ
  • น้ำหนักตัวที่มากเกินไป
  • นั่งทำงานด้วยอิริยาบถที่ไม่ถูกต้องนานๆ
  • อุบัติเหตุและการบาดเจ็บต่อกระดูกสันหลัง

การรักษาโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท

  • รับประทานยาแก้อักเสบหรือยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อบรรเทาอาการปวด
  • กายภาพบำบัด
  • การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาท
  • การผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
  • การผ่าตัดหมอนรองกระดูกด้วยกล้องจุลทรรศน์ 
  • การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกโดยใช้คอมพิวเตอร์นำวิถี

ยินดีให้คำแนะนำและปรึกษา สอบถามข้อมูลหรือสั่งซื้อสินค้า (24 ช.ม.)

โทร.081-926-1961 นันทภัค อุระนันท์ (หนิง)

Line id : @pshop01

ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ

ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ

ภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ ภาษาอังกฤษ เรียก Hypocalcemia เป็น โรคต่อมไร้ท่อ ไม่ใช่โรคติดต่อ เกิดจาก ความผิดปรกติของร่างกาย หาก กล้ามเนื้อเกร็ง มือเกรง ปากเกร็ง เท้าเกร็ง อาจสงสัยว่าเป็น โรคแคลเลซี่ยมในเลือดต่ำ แล้ว โรค นี้มี สาเหตุจากอะไร อาการของโรคเป็นอย่างไร เราจะต้องทำอย่างไรเมื่อเป็น โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ โรคนี้ ป้องกันได้หรือไม่อย่างไร และ สมุนไพรที่ช่วยบำรุงแคลเซี่ยม มีอะไรบ้าง เนื้อหามี ดังนี้

แคลเซียมในเลือดต่ำ ( Hypocalcemia ) คือ ภาวะที่ร่างกายมีแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ ซึ่ง ค่าแคลเซียมที่ปรกติของมนุษย์ อยู่ที่ 8-10.5 mg/dL หากว่านำ เลือด ไปตรวจและมี ค่าแคลเซี่ยมต่ำกว่า 8 mg/dL แปลว่าท่านได้เข้าสู่ โรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ โรค นี้สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกศาสนา ทุกวัย

สาเหตุของภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ

สาเหตุหลักจากแคลเซียมในเลือดมีต่ำกว่าปรกติ อวัยวะที่มีส่วนใน การช่วยให้การดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกาย ประกอบด้วย ต่อมพาราไทรอยด์ ไต ตับอ่อน ลำไส้ เป็นต้น ซึ่ง สาเหตุที่ทำให้เกิดการดูดซึมแคลเซี่ยมในร่างกายผิดปรกติ มี สาเหตุ แยกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

  • ความสามารถในการทำงานของ ต่อมพาราไทรอยด์ น้อยลง อาจจะเกิด จากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ส่งผลกระทบกับ ต่อมพาราไทรอยด์
  • การไม่ตอบสอนต่อ ฮอร์โมนพาราไทรอยด์ ของร่างกายมนุษย์
  • อาการพิการ ของ ต่อมพาราไทรอยด์ มา แต่กำเนิด
  • รับประทานอาหารประเภท แมกนีเซี่ยม และ แคลเซี่ยม น้อย
  • โรคเกี่ยวกับไต ทำให้ความสามารถของไตทำได้น้อยลง ทำให้มีการ ขับแคลเซี่ยมออกมามาก  ส่งผลให้ร่างกาย ไม่สามารถสร้างวิตามินดี ได้
  • โรคเกี่ยวกับลำไส้ ที่ ไม่สามารถดูดซึมแคลเซี่ยม ได้ตามปรกติ
  • โรคตับอ่อนอักเสบ ทำให้ ไม่สามารถดูดซึมแคลเซียม ได้ตามปรกติ
  • ปัญหาจาก การใช้ยา บางชนิด เช่น ยากันชัก ยาเพิ่มมวลกระดูก เป็นต้น

อาการของโรคแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ

อาการของโรค นี้จะทำให้ ความดันเลือดต่ำ มี ภาวะการเกรงของกล้ามเนื้อ  โดยเฉพาะ บริเวณมือ เท้า และ ปาก สามารถแพร่กระจายไปตามผิวหนังได้ ซึ่งอาจส่งผลให้ หัวใจเต้นผิดจังหวะ และ กล้ามเนื้อกล่องเสียงหด และ เกร็ง ทำให้ หายใจลำบาก ซึ่ง อาการของโรคภาวะแคลเซี่ยมต่ำ ต้องระวังเรื่องของ โรคแทรกซ้อน ของ การขาดแคลเซียม เช่น โรคกระดูกพรุน ต้อกระจก ฟันไม่แข็งแรง ร่างกายเจริญเติบโตช้า และสมองไม่เจริญเติบโต เป็น ปัญญาอ่อน ได้

การรักษาโรคภาวะแคลเซียมต่ำ

สามารถทำได้โดยการให้แคลเซี่ยมชดเชยส่วนที่ขาดเข้าสู่ร่างกาย ให้ยาและอาหารเสริม นอกจากนั้นแล้ว การรักษา อาการของโรคที่เป็น สาเหตุของการดูดซึมแคลเซี่ยมผิดปรกติ เช่น รักษาลำไส้อักเสบ รักษาไต รักษาตับอ่อน รักษาต่อมพาราไทรอยด์ และ ปรับปรุงพฤติกรรมการบริโภค ให้ทาน อาหารที่มีแคลเซียม มากขึ้น

ยินดีให้คำแนะนำและปรึกษา สอบถามข้อมูลหรือสั่งซื้อสินค้า (24 ช.ม.)

โทร.081-926-1961 นันทภัค อุระนันท์ (หนิง)

Line id : @pshop01

สะเก็ดเงินข้ออักเสบ

สะเก็ดเงินข้ออักเสบ

สะเก็ดเงินข้ออักเสบ เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร โรคข้อและกระดูก

โรคสะเก็ดเงินข้ออักเสบ คือ โรคสะเก็ดเงิน ที่ส่งผลประทบต่อระบบข้อต่อของมนุษย์ เป็นภาวะแพ้ภูมิต้านทานโรคตัวเอง จนทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ จนเกิดการอักเสบตามข้อกระดูก ทำให้เจ็บปวดมาก อาการของโรค และ รักษาอย่างไร

ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อข้ออักเสบจากสะเก็ดเงิน

โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่ชัดเจน แต่ร้อยละ 15 ข้อผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน มีอาการข้ออักเสบด้วย ซึ่งสามารถสรุปปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน มีดังนี้

  • การป่วยโรคสะเก็ดเงิน ร้อยละ 15 ของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน มีอาการข้ออักเสบ
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม พบว่าร้อยละ 40 ของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินข้ออักเสบ มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคสะเก็ดเงิน
  • ภาวะการติดเชื้อ จากการติดเชื้อไวรัส หรือ เชื้อแบคทีเรีย เป็นจุดเริ่มต้นของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายผิดปรกติ
  • อายุของผู้ป่วย พบว่ากลุ่มคนอายุ 30 ถึง 50 ปี มีอัตราการเกิดโรคสูงกว่าคนในช่วงอายุอื่นๆ

อาการของโรคสะเก็ดเงินข้ออักเสบ

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินข้ออักเสบ จะมีอาการลักษณะอาการเรื้อรังไม่หายขาด ซึ่งสามารถสังเกตุอาการของโรคสะเก็ดเงินข้ออักเสบ ได้ดังนี้

  • ปวดบริเวณข้อกระดูก
  • รู้สึกข้อกระดูกอุ่นๆ
  • มีอาการข้อต่อบวม
  • นิ้วมือและนิ้วเท้าบวม
  • มีอาการปวดบริเวณข้อเท้าและฝ่าเท้า โดยเฉพาะปวดเส้นเอ็น
  • มีอาการปวดบริเวณคอและหลังส่วนล่าง

การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

สำหรับการวินิจฉัยโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน แพทย์จะสังเกตุจากการที่สามารถสังเกตุได้ เช่น อาการปวด อาการบวมของข้อต่อ เล็บที่เป็นเกล็ด ตรวจดูฝ่าเท้าว่าบวมหรือไม่ จากนั้นเพื่อการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง ต้องทำการเอ็กซเรย์ MRI และ CT Scan เพื่อเช็คความเสียหายของข้อต่อ

การรักษาโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

สำหรับการรักษาโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน มีกระบวนการรักษา แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ การรักษาโดยไม่ใช้ยา และ การรักษาโดยใช้ยา รายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาโดยไม่ใช้ยา คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆที่กระตุ้นให้ข้ออักเสบ เช่น ไม่ใช้ข้อกระดูกมากเกินไป ผ่อนคลายลดความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ควบคุมน้ำหนัก เป็นต้น
  • การรักษาแบบใช้ยา เป็นยาต่างๆ เช่น ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ( NSAIDs ) กลุ่มยาปรับการดำเนินโรคข้อ ( DMARDs ) กลุ่มที่เป็นสารชีวภาพ ( Biologic drugs )

การป้องกันการเกิดโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคสามารถป้องกันจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยแนวทางการปฏิบัติตน มีดังนี้

  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมต่างๆที่ทำร้ายระบบข้อและกระดูก
  • ควบคุมน้ำหนักตัว
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • พยายามลดความเครียด

โรคข้ออักเสบสะเก็ด เป็นโรคเรื้อรัง มีการกำเริบเป็นระยะๆ การรักษาที่เหมาะสมจะช่วยทำให้ไม่ปวดข้อ ไม่เกิดความพิการ สำหรับผู้ป่วยโรคผิวหนังสะเก็ดเงิน ควรปรึกษาแพทย์

ยินดีให้คำแนะนำและปรึกษา สอบถามข้อมูลหรือสั่งซื้อสินค้า (24 ช.ม.)

โทร.081-926-1961 นันทภัค อุระนันท์ (หนิง)

Line id : @pshop01

โรคกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

โรคกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

โรคกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ คือ โรคที่เกิดจากมีการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ทำให้เกิดอาการปวดและชาบริเวณนิ้วหัวแม่มือถึงนิ้วนาง พบมากในอาชีพที่ต้องพิมพ์คอมพิวเตอร์ โรคออฟฟิตซินโดรม พบบ่อยในคนทำงานออฟฟิต

ภาวะการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ เป็นกลุ่มอาการสำหรับคนทำงานออฟฟิต โดยเฉพาะคนที่นั่งทำงานในท่าใดท่าหนึ่ง เป็นเวลานาน ๆ ทำให้เกิดอาการอักเสบ โดยสาเหตุของอาการบาดเจ็บ มีองค์ประกอบหลักๆ 2 สาเหตุ คือ

  • เกิดจากสภาพแวดล้อมอุปกรณ์ในสำนักงานไม่เหมาะสำต่อสรีระของคนทำงาน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ และ computer เป็นต้น รวมถึง เสียง แสงสว่าง ที่ส่งผลต่อ สายตา กล้ามเนื้อ และอาการปวดศรีษะ
  • เกิดจากพฤติกรรมส่วนตัวของคนทำงาน เช่น การอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานๆ ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บ

สำหรับกลุ่มอาการ ที่เกิดจากการทำงาน ที่เรียกว่า Office syndrome มีหลายอาการ เช่น โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ( Carpal tunnel syndrome)  หมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาท ( HNP ) กล้ามเนื้ออักเสบ ( Myofascial pain syndrome ) เส้นเอ็นข้อศอกด้านนอกอักเสบ ( tennis elbow ) กระดูกสันหลังยึดติด ( Lumbar dysfunction ) เส้นเอ็นข้อศอกด้านในอักเสบ ( golfer elbow ) เป็นต้น วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ โรคกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

สาเหตุของโรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ

เกิดจากการใช้งานมือหนัก และโรคนี้ยังพบว่าจะเป็นโรคที่เกิดร่วมกับภาวะต่างๆ เช่น โรคอ้วน การตั้งครรภ์ ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย วัณโรค โรครูมาตอยด์ โรคเก๊าท์ โรคเบาหวาน เป็นต้น และ สาเหตุสำคัญของโรคนี้ คือ การใช้ข้อมือ และ มือ เช่น การคีย์คอมพิวเตอร์ โดยอาชีพที่มีความเสี่ยง คือ อาชีพเย็บปักถักร้อย ขับรถ การทาสี การเขียนหนังสือ การใช้เครื่องมือที่สั่น เช่น เครื่องเจาะถนน เป็นต้น  เมื่อเกิดการกดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ และ มือ เป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการอักเสบขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ 

  • เพศ จากการสำรวจ พบว่า เพศหญิงมีอัตราการเกิดมากกว่าเพศชาย
  • อายุ พบว่าคนในช่วงอายุ 35 ถึง 40 ปี เป็นวัยทำงาน มีโอกาสเกิดโรคนี้มากกว่าช่วงอายุอื่นๆ
  • ลักษณะของข้อมือที่กลม ในคนที่มีลักษณะข้อมือกลม จะทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาทได้ง่ายกว่าคนที่มีลักษณะข้อมือแบน
  • สตรีมีครรภ์ มีโอกาสเกิดการกดทับเส้นประสาทมากกว่าคนไม่ตั้งครรภ์
  • กลุ่มคนที่ต้องใช้การกระดกข้อมือขึ้นลงบ่อย หรือ ทำงานที่มีการสั่นสะเทือนของมือและแขนเป็นเวลานาน เช่น กลุ่มแม่บ้านที่ทำกับข้าว คนซักผ้า พนักงานโรงงาน พนักงานขุดเจาะ เป็นต้น
  • ผู้ป่วยกระดูกหักหรือเคลื่อนบริเวณข้อมือ
  • ผู้ป่วยข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือ โรคไทรอยด์

อาการของโรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ

อาการที่พบ เมื่อเป็นโรคกดทับเส้นประสาทข้อมือ คือ ชาบริเวณมือ บางคนปวดบริเวณฝ่ามือ มีอาการปวดร้าวจากมือไปจนถึงข้อศอก ไม่มีแรงกำมือ สามารถแบ่งอาการให้ง่ายต่อการศึกษา ได้ดังนี้

  • ปวด ชาบริเวณฝ่ามือและนิ้วมือจะมีอาการข้างเคียงหรือทั้ง 2 ข้าง มักจะมีอาการเด่นชัดในมือข้างที่ถนัด โดยเฉพาะนิ้วโป้ง ชี้ กลาง และนิ้วนางครึ่งนิ้ว
  • อาการอ่อนแรงของมือ และนิ้วมือ เช่น กำมือได้ไม่แน่น หยิบจับของแล้วหล่นง่าย ถ้าไม่รีบรักษา จะสังเกต เห็นกล้ามเนื้อในมือฝ่อลีบ บางครั้ง อาจพบว่ามีอาการมากขึ้นในตอนกลางคืนบางครั้งผู้ป่วยอาจตื่นขึ้นมาเนื่องจากอาการปวด แต่เมื่อสะบัดข้อมือ แล้วมีอาการดีขึ้น

วิธีรักษาอาการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

  1. หลีกเลี่ยงกิจกรรมทั้งหมดที่ต้องใช้มือและข้อมือ
  2. ใส่เฝือกอ่อนดามบริเวณข้อมือ เพื่อลดการเคลือนไหวของมือและข้อมือ
  3. ใช้ยาแก้ปวด แก้อักเสบ เพื่อลดอาการปวด และบวม แต่ต้องใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ
  4. การทำกายภาพบำบัด การบริหารมือ
  5. ฉีดยาสเตรอยด์เข้าบริเวณข้อมือซึ่งพบว่าวิธีนี้ได้ 80%
  6. การผ่าตัด โดยวิธีเปิดแผลและตัดเอ็นที่อยู่ด้านหน้า เพื่อขยายช่องให้ใหญ่ขึ้น การผ่าตัด จะทำเมื่อมีอาการรุนแรง การผ่าตัดเยื่อหุ้มเอ็น บริเวณข้อมือ ให้แยกจากกัน สำหรับการดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัด ให้ ยกมือสูงเพื่อลดอาการบวมหลังการผ่าตัด ทำความสะอาดแผลผ่าตัดให้สะอาด หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำ และ หมั่นบริหารมือหลังการผ่าตัด เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต และ ลดอาการบวม

ยินดีให้คำแนะนำและปรึกษา สอบถามข้อมูลหรือสั่งซื้อสินค้า (24 ช.ม.)

โทร.081-926-1961 นันทภัค อุระนันท์ (หนิง)

Line id : @pshop01

โรคปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ

โรคปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ

โรคปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ คือ โรคข้อและกระดูก การอักเสบของปลอดหุ้มเอ็นบริเวณกล้ามเนื้อโคนนิ้วหัวแม่มือ และ เมื่อปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ อาการของโรค คือ ปวด และ บวม บริเวณข้อมือ หรือ โคนนิ้วหัวแม่มือ ไม่ทราบสาเหตุของโรคที่ชัเจน พบมากในสตรีวัยกลางคน

โรคปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ เป็น กลุ่มอาการของโรคที่เกิดกับเอ็นและข้อมือ เกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเส้นเอ็นนิ้วหัวแม่มือ  ที่อยู่บริเวณข้อมือ หรือ โคนนิ้วหัวแม่มือ มีอาการปวด และ บวม มีอาการหนาตัวของเส้นเอ็น โรคนี้พบว่าเพศหญิงมีอัตราการเกิดที่สูงกว่าเพศชาย และพบมากในคนช่วงอายุ 30 ถึง 50 ปี

อาการปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ นั้น จะมีชื่อเรียกต่างกันตามจุดที่เกิดการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็น เช่น

  • หากเกิดการอักเสบที่จ้อศอก เรียก โรคข้อศอกนักเทนนิส ( tennis elbow ) เป็น การอักเสบของเส้นเอ็นบริเวณข้อศอก พบมากใน นักกีฬาที่ใช้การตี ช่างไม้ และ ช่างทาสี เป็นต้น
  • หากเกิดที่ข้อหัวไหล่ เรียก โรคข้อไหล่นักว่ายน้ำ ( swimmer’s shoulder ) เป็น การอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณไหล่ พบบ่อยในนักกีฬาที่ใช้หัวไหล่มาก เช่น นักว่ายน้ำ นักเทนนิส และ นักยำน้ำหนักเป็นต้น
  • หากเกิดอาการอักเสบที่ข้อมือ เรียก โรคเดอเกอร์แวง ( de Quervain’s disease ) หรือ โรคปลอกเอ็นหุ้มข้อมืออักเสบ เป็นอาการอักเสบของเส้นเอ็นและปลอกหุ้ม พบบ่อยในคนทำงานออฟฟิต ที่ต้องใช้ข้อมือและนิ้วหัวแม่มือบ่อย
  • หากเกิดที่นิ้ว เรียกว่า โรคนิ้วล็อก ( trigger finger ) เป็นอการอักเสบของเส้นเอ็นที่บังคับการงอของนิ้วมือ พบบ่อยในนักกีฬาที่ต้องจับไม้แน่นๆ เช่น นักกีฬาเทนนิส นักกีฬาแบดมินตัน นักกอล์ฟ และคนทำสวน เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดโรคปลอกหุ้มข้อมืออักเสบ

สำหรับสาเหตุของการอักเสบที่เส้นเอ็นและปลอกหุ้มข้อมือนั้น มักเกิดการใช้งานข้อมือและนิ้วหัวแม่มือ หนักและไม่ถูกวิธี นอกจากนี้พบว่าเกิดจากอุบัติเหตุ การได้รับบาดเจ็บ ทำงานหนัก หรือ การทำกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อเอ็นที่ข้อมืออย่างหนักและซ้ำ อย่างเป็นประจำ

อาการของผู้ป่วยโรคปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ

สำหรับอาการที่พบ สำหรับผู้ที่ีมีอาการอักเสบที่เอ็นข้อมือ คือ จะมีอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้วมือ ลักษณะเป็นๆหายๆ และบางครั้งเจ็บไปถึงข้อศอก จะมีอาการปวดมากขึ้น เมื่อต้องหยิบจับสิ่งของ และอาจมีอาการบวมตรงโคนนิ้ว จะปวดมากขึ้น ต้องเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือ เช่น เวลาเหยียดและงอนิ้วหัวแม่มือ การบิดเสื้อผ้า การยกขันน้ำ การกวาดพื้น เป็นต้น ในผู้ป่วยบางรายมีก้อนบริเวณข้อมือ

การรักษาอาการปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ

แนวทางการรักษาโรคนี้ สามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ การรักษาโดยไม่ใช้วิธีการผ่าตัด และ การรักษาด้วยการผ่าตัด

การรักษาโดยการไม่ใช้วิธีการผ่าตัด เช่น

  1. หลีกเลี่ยงการใช้งานข้อมือ นิ้วมือ และกิจกรรมทั้งหมดที่ต้องใช้มือหยิบจับ
  2. ใส่เฝือกอ่อนเพื่อดามบริเวณโคนของนิ้วมือ เพื่อลอการเคลือนไหว อันเป็นสาเหตุของการเจ็บปวด
  3. ทานยาแก้ปวดและแก้อักเสบ จะช่วยกดอาการเจ็บปวดลงได้ แต่ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม
  4. การนวด โดยการประคบร้อนและการประคบเย็น จะช่วยให้ผ่อนคลายความปวด

การรักษาโดวิธีการผ่าตัด สำหรับการรักษาด้วยการผ่าตัดจะได้ผลค่อนข้างดี แต่การผ่าตัดจะทำเมื่อจำเป็นเท่านั้น โดยการบ่งชี้ว่าต้องรับการรักษาโดยการผ่าตัด มีอาการปวดมาก ต้องเข้ารับการฉีดยาสเตียรอยด์ แต่อาการไม่ดีขึ้น โดยการผ่าตั้นนั้นแพทย์จะฉีดยาชา ใช้ยางยืดรัดแขน เพื่อห้ามเลือด ใช้มีดกรีดแยกเยื่อหุ้มเอ็นที่บีบรัดเส้นเอ็น อยู่ให้แยกจากกัน และเย็บแผล หลังจากการผ่าตัด ต้องทำการล้างผลทุกวัน และตัดไหมภายใน 10 วัน และต้องพบแพทย์เพื่อตรวจทุก 1 ถึง 2 สัปดาห์ในระยะแรก

ภาวะแทรกซ้อนที่พบจากการรักษาโรคปลอกหุ้มเอ็นอักเสบจากการผ่าตัด

  • เกิดอาการเจ็บบริเวณผ่าตัด และ เกิดพังผืดใหม่หลังผ่าตัด
  • เกิดแผลเป็นคีลอยด์
  • มีโอกาสเสี่ยงเกิดอันตรายต่อเส้นประสาท ทำให้มีอาการชา หรือ ปวดแสบปวดร้อน
  • เส้นเอ็นบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ นูนขึ้นเวลากระดกนิ้วหัวแม่มือ

การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ

  1. ควรหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหว ที่จะทำให้ปว และเจ็บปวดเส้นเอ็น
  2. บริหารข้อมือเป็นประจำ และต้องอบอุ่นร่างกายก่อนการออกกำลังกาย
  3. หลีกเลี่ยงการใช้งานของข้ออย่างหนัก เพื่อป้องกันการเกิดการอักเสบอีกครั้ง

ยินดีให้คำแนะนำและปรึกษา สอบถามข้อมูลหรือสั่งซื้อสินค้า (24 ช.ม.)

โทร.081-926-1961 นันทภัค อุระนันท์ (หนิง)

Line id : @pshop01

โรคชิคุนกุนยา โรคไข้ปวดข้อยุงลาย

โรคชิคุนกุนยา โรคไข้ปวดข้อยุงลาย

โรคชิคุนกุนยา โรคไข้ปวดข้อยุงลาย เกิดจากร่างกายติดเชื้อไวรัส

โรคไข้ปวดข้อยุงลาย โรคชิคุนกุนยา คือ โรคติดต่อ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ชื่อ ชิคุนกุนยา ( Chikungunya virus ) ยุงลายเป็นภาหะนำโรค ส่งผลให้มีไข้สูง ปวดตามข้อ ไม่อันตรายถึงชีวิต การรักษาโรคชิกุนยา และ การป้องกันโรค

โรคชิคุณกุนย่าเกิดจากยุงลายที่มีเชื้อโรคไปกัดมนุษย์และแพร่เชื้อโรคสู่คน ทำให้คนนั้นเกิดโรคได้  สำหรักการแพร่ระบาดของโรคนี้ในประเทศไทย พบว่ามีรายงานการแพร่กระจายของโรคในภาคใต้ตอนล่างของไทย ช่วงปี พ.ศ. 2552 โดยมาตรการที่สำคัญในขณะนั้น กระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่เร่งให้ความรู้ประชาชนเพื่อรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย

โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ โรคชิคุนกุนยา เป็นโรคที่ไม่มียา หรือ วัคซีนป้องกัน โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค เหมือน โรคไข้เลือดออก  แต่พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก เมื่อเกิดโรคป่วยจะมีอาการนอนซม ปวดข้อจนเดินไม่ได้

สาเหตุของการติดเชื้อไวรัส

  1. เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ซึ่งเป็น RNA Virus จัดอยู่ใน genus alphavirus และ family Togaviridae ไวรัสชิคุนกุนยามีความใกล้ชิดกับ O’nyong’nyong virus และ Ross River virus ที่พบในประเทศออสเตรเลีย รวมทั้งไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคไข้สมองอักเสบ eastern equine encephalitis และ western equine encephalitis
  2. เชื้อไวรัสชิคุนกุนยาติดต่อกันได้โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง และเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนนั้นเกิดอาการของโรคได้
  3. ระยะฟักตัวของโรคโดยทั่วไปประมาณ 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยประมาณ 2-3 วัน
  4. ระยะติดต่อเป็นช่วงระยะเวลาที่ผู้ป่วยไข้สูง ประมาณวันที่ 2 – 4 เนื่องจากเป็นระยะที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาอยู่ในกระแสเลือดมากที่สุด

อาการของโรคชิกุนย่า

สำหรับอาการผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคชิคุณกุนย่า จะมีไข้สูงอย่างกระทันหัน คันตามร่างกาย พบตาแดง จะปวดข้อ ซึ่งบางรายอาจมีอาการข้ออักเสบ ตาม ข้อมือ ข้อเท้าและเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ ปวดข้อหรือข้อบวมแดงอักเสบ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการปวดข้อ ภายใน 10 วัน หลังจากได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย จะเกิดผื่นบริเวณลำตัวและแขนขา แต่ไม่มีอาการคัน ผื่นนี้จะหายได้เองภายใน 10 วัน และพบอาการปวดกล้ามเนื้อ เมื่อยล้า มีไข้ และต่อมนํ้าเหลืองโต แต่ไม่พบว่ามีอาการชาหรือเจ็บบริเวณฝ่ามือหรือเจ็บฝ่าเท้า ร่วมด้วย

การรักษาโรคชิกุนย่า

สำหรับวิธีรักษาโรคชิกุนยา จากที่กล่าวในข้างต้นยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคติดต่อนี้ได้ ทำได้เพียงประครองและรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด และพักผ่อนให้มากๆ รักษาสุขภาพ

การป้องกันโรคชิกุนย่า

วิธีการป้องกันโรคชิกุนยา ขณะนี้ยังไม่มียา หรือวัคซีน ที่สามารถรักษาโรคนี้ได้ ทำได้เพียงการหลีกเลี่ยงสาเหตุของโรคติดเชื้อ โดยการไม่ให้ยุงลายกัด โดยเราได้สรุปการป้องกันการติดเชื้อไวรัส ได้ดังนี้

  1. การป้องกันโรคชิคุนกุนยาที่ดีที่สุดคือ ป้องกันไม่ให้ถูกยุงลายกัด
  2. ใช้สารไล่ยุง DEET, icaridin, PMD หรือ IR3535
  3. สวมใส่เสื้อผ้าที่ป้องกันไม่ให้ยุงกัด ติดมุ้งลวดในบ้าน หรือทายากันยุงขณะทำงานและออกนอกบ้าน
  4. ยาทากันยุงชนิดที่มีส่วนผสมของไพรีธรอยด์ช่วยป้องกันได้พอสมควร
  5. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยเฉพาะแหล่งน้ำขัง เริ่มจากในบ้านก่อน ไม่ว่าจะเป็นแจกันดอกไม้ที่ใส่น้ำไว้ ขาตู้ใส่น้ำกันมด ตุ่มใส่น้ำไม่ปิดฝา จากนั้นขยายอกบริเวณรอบบ้าน เช่น ขวดพลาสติก แก้วพลาสติกที่มีน้ำขัง ยางรถยนต์เก่าและแอ่งน้ำตามธรรมชาติ ฯลฯ
  6. ร่วมมือช่วยกันในชุมชนดูแลไม่ให้เกิดน้ำขังขึ้น จะเห็นได้ว่ามาตราการป้องกันยุงลาย นอกจากจะป้องกันไข้เลือดออกแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคชิคุนกุนยาได้อีกด้วย

ยินดีให้คำแนะนำและปรึกษา สอบถามข้อมูลหรือสั่งซื้อสินค้า (24 ช.ม.)

โทร.081-926-1961 นันทภัค อุระนันท์ (หนิง)

Line id : @pshop01

โรคข้ออักเสบ จากการติดเชื้อ

โรคข้ออักเสบ จากการติดเชื้อ

โรคข้ออักเสบ จากการติดเชื้อ สาเหตุ อาการ การรักษาโรคข้อ

โรคข้ออักเสบ ( Septic arthritis )คือ ภาวะการอักเสบของข้อกระดูกต่างๆ ที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อโรค เชื้อโรคส่วนใหญ่เป็นเชื้อแบคทีเรีย อาการโรคข้ออักเสบ คือ มีอาการปวด บวม แดง ร้อน บริเวณรอบ ๆ ข้อกระดูก จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆจากการติดเชื้อ มีหนองที่ข้อกระดูก โรคระบบข้อและกระดูก สาหตุ อาการ รักษาอย่างไร

 

หากท่านมี อาการปวดข้อกระดูก มี อาการแดง ร้อน ตามข้อกระดูกแล้ว อย่าพึ่งคิดว่าเป็น โรคเก๊าท์ อาการปวดข้อกระดูก มีหลายโรค ซึ่ง โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ เป็นอีก โรคที่มีอาการปวดตามข้อ รวมอยู่ด้วย และความอันตรายของโรคก็มีมาก หากไม่รักษาอาจพิการถึงเสียชีวิตได้

โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ ภาษาอังกฤษ เรียก Septic arthritis โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ คือ ภาวะการอักเสบของข้อกระดูกต่างๆ ที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อโรค ซึ่งเชื้อโรคที่พบส่วนใหญ่ เป็นเชื้อแบคทีเรีย ( Bacteria ) อาการที่พย คือ ผู้ป่วยจะมีอาการปวด บวม แดง ร้อน บริเวณรอบ ๆ ข้อกระดูก และจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อมีความเสี่ยงต่อการทุพลภาพสูง หากสงสัยว่าเรากำลังมีอาการปวดข้อ เป็นข้ออักเสบจากการติดเชื้อแล้ว ให้รีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการรักษา

ในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับ โรคข้ออักเสบชนิดติดเชื้อ กัน โรคนี้เป็นโรคเกี่ยวกับข้อและกระดูก รวมถึงโรคเกี่ยวกับการติดเชื้อ มาทำความรู้จัก สาเหตุของการเกิดโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ อาการของโรคเป็นอย่างไร การวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้วินิจฉัยจากอะไร การรักษาโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ รวมถึงการป้องกันและการดูแลผู้ป่วยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ

สาเหตุของการเกิดโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ

โรคข้ออักเสบติดเชื้อ จะมีอาการปวดข้อกระดูก เนื่องจากมีหนอง ซึ่งเราสามารถแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคได้ 2 สาเหตุใหญ่ คือ การติดเชื้อแบคทีเรีย และการติดเชื้อหนองใน มาดูรายละเอียดของสาเหตุต่างๆ ดังนี้

  1. สาเหตุของข้ออักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อแบคทีเรีย สามารถเข้าสู่ร่างกายเราได้ 3 ช่องทาง คือ ติดเชื้อจากแผลจากผิวหนังและกระแสเลือด  ติดเชื้อจากภาวะภูมิต้านทานร่างกายต่ำ และติดเชื้อจากระบบทางเดินปัสสาวะ
  2. สาเหตุของข้ออักเสบติดเชื้อหนองในแท้ เชื้อโรคจากโรคหนองในแท้ มีอันตรายสูง เป็นอันตราย หากเกิดการติดเชื้อโรคหนองในที่ข้อกระดูก อัตราการตายและการทุพพลภาพสูง กลุ่นคนที่ต้องระวังการติดเชื้อจากหนองใน คือ ผู้ที่ตั้งครรภ์ ผู้มีประจำเดือน ผู้ขาดคอมพลีเมนต์  และผู้ป่วยที่เป็นโรคเอสแอลอี

อาการของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ

เราจะแยกอาการของ โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ ตามสาเหตุของการติดเชื้อ เป็น อาการของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ทั่วไป และ อาการของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อหนองใน รายละเอียดของอาการต่างๆ มีดังนี้

  • อาการผู้ป่วยโรคข้ออักเสบติดเชื้อแบคทีเรียทั่วไป คือ มีอาการปวด บวม แดงและร้อน บริเวณรอบ ๆ ข้อกระดูก ซึ่งข้อที่พบบ่อย คือ ข้อหัวเข่า ข้อสะโพก ข้อเท้า ข้อมือและข้อศอก นอกจากอาการปวด บวม แล้ว ผู้ป่วยจะมีไข้ หนาวสั่นด้วย แต่อาการนี้จะหายเองภายใน 45 วัน
  • อาการผู้ป่วยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อหนองใน คือ มีอาการปวด บวม แดงและร้อน บริเวณรอบ ๆ ข้อกระดูก ลักษณะของอาการปวดจะย้ายที่ไปเรื่อยๆ ข้อกระดูกที่พบว่าปวด คือ ข้อมือ ข้อเข่า ข้อเท้าและข้อนิ้วมือ เป็นต้น

การตรวจวินิจฉัยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ

การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ นั้น โดยเริ่มต้นสามารถทำได้โดย การสอบถามอาการของผิดปรกติจากผู้ป่วย และประวัติต่างๆ หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการเหมือนโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อแล้ว เพื่อให้เกิดความแน่ใจ สามารถทำได้โดยการตรวจเชื้อโรค จากการเจาะน้ำข้อกระดูกไปตรวจ การเจาะCBC และการตรวจทางรังสีวิทยา โดยรานละเอียด ดังนี้

  1. การเจาะน้ำที่ข้อกระดูกไปตรวจ ดูระดับน้ำตาล หากมีระดับน้ำตาลต่ำ มีโอกาสเจอเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของอาการอักเสบ
  2. การเจาะ CBC เพื่อดูค่าเม็ดเลือดขาว
  3. การตรวจทางรังสีวิทยา เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของกระดูกรอบ ๆ ข้อ หากพบว่าบางลงหลังการติดเชื้อได้ 7 วันและจะพบว่าช่องว่างระหว่างข้อแคบลงหลังจากติดเชื้อได้ 14 วัน แสดงว่ามีการติดเชื้อ

การรักษาโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ

การรักษาภาวะข้ออักเสบจากการติดเชื้อโรคนั้น สามารถทำการรักษาโดยการดูดหนองออกจากข้อกระดูกให้หมดและใช้ยาปฏิชีวนะ และรักษาโดยการประคับประครองอาการแทรกซ้อน ตามลำดับ รายละเอียดของการรักษา มีดังนี้

  • เจาะข้อกระดูก เพื่อทำการระบายหนองออกจากข้อกระดูก การเจาะจะง่ายหากเป็นข้กระดูกหัวเข่า แต่ถ้าเป็นข้อกระดูกอื่นๆ เช่น ข้อสะโพก หรือหัวไหล จะเจาะยาก ต้องใช้การเจาะด้วยการส่องกล้อง
  • จากนั้นใช้ยาปฏิชีวนะ การเจาะหนองอาจไม่หมด ซึ่งเชื้อโรคสามารถเจิญเติบโตต่อได้ โดยการใช้ยาปฏิชีวนะ ในระยะแรกจะให้ยาโดยการฉีด จากนั้นหลังจากผ่านไป 6 สัปดาห์ จะให้ยา เพื่อฆ่าเชื้อให้หมดและไม่กลับมาเจริญเติบโตในข้อกระดูก
  • จากนั้นเป็นระยะเวลาของการประคับประคองการเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น การใช้ยาแก้ปวด เฝ้าระวังการช็อกจากการขาดน้ำ

การป้องกันการเกิดโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อ

  • ข้ออักเสบจากการติดเชื้อ สามารถเกิดขึ้นจากการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคหนองใน ดังนั้น ต้องระวัง และป้องกัน หากต้องมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อโรคหนองใน
  • โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อนั้น เชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายและเข้าสู่กระแสเลือดทางแผล ดังนั้น หากเกิดแผลต้องระวังการติดเชื้อ ทำความสะอากแผลให้สะอาด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากการพักผ่อนที่เพียงพอทำให้ภูมิต้านทานโรคของร่างกายทำงานปรกติ และร่างกายแข็งแรง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง

ยินดีให้คำแนะนำและปรึกษา สอบถามข้อมูลหรือสั่งซื้อสินค้า (24 ช.ม.)

โทร.081-926-1961 นันทภัค อุระนันท์ (หนิง)

Line id : @pshop01

โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกบาง เกิดจากอะไร ป้องกันอย่างไร

โรคกระดูกบาง โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกเปราะ คือ ภาวะมวลกระดูกบาง ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน โรคผู้หญิง และ โรคผู้สูงอายุ กระดูกจะแตกหักง่าย สาเหตุของการเกิดโรค การรักษาโรค และ การป้องกันการเกิดโรค

โรคกระดูกบาง หรือ โรคกระดูกพรุน หรือ โรคกระดูกเปราะ ( Osteoporosis ) คือ ภาวะมวลกระดูกของร่างกายต่ำกว่ามาตรฐาน โดย มวลกระดูกของโรคกระดูกบาง ประมาณ -1 ถึงน้อยกว่า -2.5 sd  หากไม่รักษา ก็จะทำให้เกิดโรคกระดุกพรุน แต่สำหรับบางคนสามารถเกิดกระดูกพรุน โดยไม่เกิดภาวะกระดูกบางมาก่อน ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน กระดูกจะแตกหักง่าย

โรคกระดูกพรุน คือ สภาวะที่กระดูกมีปริมาณเนื้อกระดูกต่ำลง เพราะว่าแคลเซี่ยมในร่างกายต่ำลง มีผลให้หลังโก่ง และกระดูกหักง่าย โรคกระดูกพรุนเป็นโรคทางกระดูกและไข้ข้อ โรคข้อและกระดูก

สาเหตุของการเกิดโรคกระดุกพรุน

สำหรับกลไกการเกิดโรคกระดูกพรุน นั้นในทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดนัก แต่พบว่าเกิดจาก การขาดความสมดุลระหว่างเซลล์สร้างกระดูก ( Osteoblast ) และ เซลล์ดูดซึมทำลายกระดูก ( Osteoclast ) ซึ่ง สาเหตุของการเสียสมดุลจำเกิดการทำลายมวลกระดูกมีปัจจัย ดังต่อไปนี้

  • อายุ เมื่อมีอายุมากขึ้น เซลล์ในร่างกายและการทำงานของระบบกระดูกก็เปลี่ยนไปตามอายุการใช้งาน
  • การขาดฮอร์โมนเพศ ซึ่งฮอร์โมนเพศ จะช่วยการสร้างเซลล์กระดูก หากเกิดภาวะประจำเดือนหมด จะทำให้ฮอร์โมนเพศหยุดการสร้างและ ทำให้มีภาวะเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน
  • การขาดสารอาหาร ที่มีประโยชน์ต่อการสร้างกระดูก โดยสารอาหารสำคัญต่อกระดูก เช่น โปรตีน แคลเซียม และ วิตามินดี
  • การขาดการออกำลังกาย การออกกำลังกายทำให้กระตุ้นการเคลื่อนไหว และจะช่วนกระตุ้นการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก
  • พันธุกรรม จากสถิติพบว่าในคนที่ครอบครัวมีคนเกิดโรคนี้ คนในครอบครัวคนอื่นๆ มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคมากกว่าปรกติ
  • โรคแทรกซ้อนจากโรคที่เกี่ยวกับการสร้างฮอร์โมน เช่น โรคไทรอยด์ โรคเนื้องอกของต่อมใต้สมอง เป็นต้น

อาการของผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน

สำหรับอาการโรคกระดูกพรุนนั้น โดยทั่วไปเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้กระดูกหักได้ง่าย โดยเฉพาะสตรีวัยหมดประจำเดือน มักเกิดกระดูกหักง่าย เช่น ปลายกระดูกแขน กระดูกข้อมือ และ เกิดการยุบ ตัวของกระดูกสันหลัง หรือ กระดูกสันหลังเสื่อม เกิดการปวดหลังเรื้อรัง ส่วนกระดูกพรุนสำหรับผู้สูงอายุ มักเสี่ยงต่อกระดูกสะโพกหัก

การรักษาโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนหากเป็นแล้วไม่สามารถรักษาให้กระดูกกลับมาดีเหมือนเดิมได้ สามารถทำได้โดยการรักษาตามอาการเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดจากภาวะกระดูกพรุนเท่านั้น แต่วิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับโรคกระดูกพรุน คือ การป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุน โดยวิธีการ ออกกำลังกาย ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต รับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยมสูงสม่ำเสมอ ในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกาย

การดูแลผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน

ผู้ป่วนโรคกระดูกพรุน ต้องรับประทานอหารเสริม เช่น กินวิตามินเกลือแร่ หรือ ยา ตามแพทย์แนะนำ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รักษาระดับน้ำหนักตัวไม่ให้หนักเกินไป ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และงดการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์

การป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน

การป้องกันโรคกระดูกพรุนที่ดที่สุด คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้ทั้งหมด เช่น เลิกการดื่มสุรา เลิกสูบบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และ เข้ารับการตรวจมวลกระดูกอย่างสม่ำเสมอ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุน จะต้องมีคนคอยดูแลเพราะกระดูดที่แตกง่ายหักกง่ายนี้ ผู้ป่วยเพียงแค่เดินแรงก็สามารถทำให้กระดูกหักได้เลย ภาวะกระดูกพรุ่นเป็นโรคภายในร่างกาย ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมาก หากไม่ดูแลตัวเองให้ดี ก็จะเป็นโรคกระดูกพรุนได้

ยินดีให้คำแนะนำและปรึกษา สอบถามข้อมูลหรือสั่งซื้อสินค้า (24 ช.ม.)

โทร.081-926-1961 นันทภัค อุระนันท์ (หนิง)

Line id : @pshop01