โรคกระดูกบาง โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกเปราะ คือ ภาวะมวลกระดูกบาง ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน โรคผู้หญิง และ โรคผู้สูงอายุ กระดูกจะแตกหักง่าย สาเหตุของการเกิดโรค การรักษาโรค และ การป้องกันการเกิดโรค
โรคกระดูกบาง หรือ โรคกระดูกพรุน หรือ โรคกระดูกเปราะ ( Osteoporosis ) คือ ภาวะมวลกระดูกของร่างกายต่ำกว่ามาตรฐาน โดย มวลกระดูกของโรคกระดูกบาง ประมาณ -1 ถึงน้อยกว่า -2.5 sd หากไม่รักษา ก็จะทำให้เกิดโรคกระดุกพรุน แต่สำหรับบางคนสามารถเกิดกระดูกพรุน โดยไม่เกิดภาวะกระดูกบางมาก่อน ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน กระดูกจะแตกหักง่าย
โรคกระดูกพรุน คือ สภาวะที่กระดูกมีปริมาณเนื้อกระดูกต่ำลง เพราะว่าแคลเซี่ยมในร่างกายต่ำลง มีผลให้หลังโก่ง และกระดูกหักง่าย โรคกระดูกพรุนเป็นโรคทางกระดูกและไข้ข้อ โรคข้อและกระดูก
สำหรับกลไกการเกิดโรคกระดูกพรุน นั้นในทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดนัก แต่พบว่าเกิดจาก การขาดความสมดุลระหว่างเซลล์สร้างกระดูก ( Osteoblast ) และ เซลล์ดูดซึมทำลายกระดูก ( Osteoclast ) ซึ่ง สาเหตุของการเสียสมดุลจำเกิดการทำลายมวลกระดูกมีปัจจัย ดังต่อไปนี้
สำหรับอาการโรคกระดูกพรุนนั้น โดยทั่วไปเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้กระดูกหักได้ง่าย โดยเฉพาะสตรีวัยหมดประจำเดือน มักเกิดกระดูกหักง่าย เช่น ปลายกระดูกแขน กระดูกข้อมือ และ เกิดการยุบ ตัวของกระดูกสันหลัง หรือ กระดูกสันหลังเสื่อม เกิดการปวดหลังเรื้อรัง ส่วนกระดูกพรุนสำหรับผู้สูงอายุ มักเสี่ยงต่อกระดูกสะโพกหัก
โรคกระดูกพรุนหากเป็นแล้วไม่สามารถรักษาให้กระดูกกลับมาดีเหมือนเดิมได้ สามารถทำได้โดยการรักษาตามอาการเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดจากภาวะกระดูกพรุนเท่านั้น แต่วิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับโรคกระดูกพรุน คือ การป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุน โดยวิธีการ ออกกำลังกาย ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต รับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยมสูงสม่ำเสมอ ในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกาย
ผู้ป่วนโรคกระดูกพรุน ต้องรับประทานอหารเสริม เช่น กินวิตามินเกลือแร่ หรือ ยา ตามแพทย์แนะนำ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รักษาระดับน้ำหนักตัวไม่ให้หนักเกินไป ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และงดการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์
การป้องกันโรคกระดูกพรุนที่ดที่สุด คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้ทั้งหมด เช่น เลิกการดื่มสุรา เลิกสูบบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และ เข้ารับการตรวจมวลกระดูกอย่างสม่ำเสมอ
ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุน จะต้องมีคนคอยดูแลเพราะกระดูดที่แตกง่ายหักกง่ายนี้ ผู้ป่วยเพียงแค่เดินแรงก็สามารถทำให้กระดูกหักได้เลย ภาวะกระดูกพรุ่นเป็นโรคภายในร่างกาย ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมาก หากไม่ดูแลตัวเองให้ดี ก็จะเป็นโรคกระดูกพรุนได้